IT

Top 5 People Tools

เริ่มทำงานที่ ThoughtWorks ประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม 2018 ซึ่งมาถึงบัดนี้ ก็ได้เวลาครบหนึ่งปีพอดี เลยมาเขียนเล่าประสบการณ์ของการทำงานที่นี่ รวมถึงรีวิวเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ถ้าจะเขียนประสบการณ์สำหรับที่นี่ ผมคิดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น มันเยอะมากๆ และค่อนข้างมีความเฉพาะตัว สำหรับตอนนี้ ผมจะไม่เขียนเกี่ยวกับว่า วัฒนธรรมของ ThoughtWorks เป็นอย่างไร แต่จะเขียนถึงกิจกรรมที่ผมระลึกถึงได้ว่า มันว้าวววว และ น่าจะเป็นประโยชน์ แม้ว่า ผู้อ่านจะไม่ได้อยากจะมาทำงานที่นี่ก็ตาม ก็น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในที่ทำงานที่ตัวเองทำงานอยู่ในขณะนี้ ถ้านำไปใช้ก็ยิ่งมีประโยชน์มากขึ้นไปอีกไม่ว่าผู้อ่านจะทำงานที่องค์กรใดก็ตาม

ข้อความแถลง : ผมเขียนประสบการณ์ตอนนี้ ไม่ได้มีใครบอกให้เขียน และข้อความทั้งหมด เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง ไม่มีความเกี่ยวข้องกับมุมมองของบริษัทแต่อย่างใด ปัจจุบัน ผมยังคงเป็นพนักงาน ThoughtWorks อยู่ ดังนั้น ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน

Fire Drill

Fire Drill เป็นหนึ่งในกิจกรรมมหัศจรรย์ที่ผมรู้สึกว่า เออเนอะ เราไม่เห็นเคยทำที่อื่นเลย Fire Drill เป็นการซ้อมหนีภัย ช่วงเวลาที่เรากำลังจะต้องทำกิจกรรมอะไรสำคัญเช่น ขึ้นงานใหม่ ขึ้นโปรเจคใหม่ ฟอร์มทีมใหม่ จะได้รู้ว่าแต่ละคนจะต้องทำอะไรยังไงเมื่อไหร่ เนื่องจากเบื้องหลัง คนที่นี่ Dynamic สูงมาก การย้ายไปย้ายมาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สิ่งที่แต่ละคนหิ้วไปด้วยเวลาทำงานกับคนกลุ่มใหม่คือ ความคาดหวัง ซึ่งมักจะผิดพลาดได้ง่ายๆ เสียด้วย ดังนั้น Fire Drill เป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยสร้างสถานการณ์สมมุติ เช่นว่า ได้รับ Ticket ปัญหามา จากนั้นเอาทุกอย่างลงเป็นของที่จับต้องได้ทั้งหมด แล้วมาซักซ้อมว่าจะต้องส่งให้ใครยังไง มันคือการซ้อมกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบนี่เอง เราเอาคนที่ต้องรับปัญหาหน้างานมา เอาคนที่จะต้องคุยทุกคนมา แล้วบางที ก็อาจจะมีพลาด เฮ้ย จริงๆ ขั้นตอนนี้คนนั้นจะต้องรู้ คนนี้จะต้องรู้ แต่พอได้ซ้อม ก็จะรู้หน้าที่กันมากขึ้น ว่าแต่ละคน จะต้องรู้ Context ตอนไหน เพื่ออะไร และมันสำคัญที่จะทำให้งานช่วงต่อไปไม่หลุดได้ยังไง

Role Expectation

เพราะแต่ละคน มีเบื้องหลังไม่ตรงกัน บางคนเคยอยู่โปรเจคที่ QA ทำหน้าที่ 1,2,3 บางคนเคยอยู่โปรเจคที่ Dev ต้องทำ 1,2,3 การที่คนทั้งกลุ่มมาเจอกันแล้วต้องทำงานด้วยกัน มันไม่ง่ายเลย ถ้าความคาดหวังไม่ตรงกัน มันขัดแย้งเอาได้ง่ายมากๆ Role Expectation เป็นกิจกรรมที่ เอาคนทั้งหมดที่ต้องทำงานด้วย มากองด้วยกัน จากนั้น ช่วงแรก ต่างคนก็จะเขียนของตัวเองว่า ความคาดหวังของตัวเองต่อ Role ต่างๆ เป็นยังไง เขียนเป็นชิ้นๆ ลงกระดาษ แล้วก็เอาไปแปะในบอร์ดของแต่ละ Role จากนั้น คนในแต่ละ Role ก็มาดู แล้วแถลงว่ารับ หรือ ไม่รับ ว่าเป็นหน้าที่ หรือว่า ภารกิจนั้น ควรเป็นหน้าที่ของใคร

กิจกรรมนี้ ควรทำเป็นอย่างมาก ถ้าหาก เริ่มมีลำดับการส่งต่อผิด หรือเริ่มมีเสียง Gossip ถึงคนนั้นคนนี้ว่าทำไมเค้าไม่ทำ ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่เค้าควรจะทำ (ซึ่งทุกอย่างล้วนมโนมาจากประสบการณ์ในอดีตทั้งนั้น)

Role Player Simulation — คนสมัยก่อนชะปะ เวลาเค้ามีปัญหา เค้าก็ไปหานักบำบัด แล้วก็พูดๆๆ ระบาย แล้วก็จบไป จนกระทั่ง…

Posted by Warun Kietduriyakul on Friday, 26 January 2018

Fast Feedback

ถ้าหากจะบอกว่า Fast Feedback นั้น ไม่ได้เป็นแค่กระบวนการพัฒนาซอฟแวร์ แต่เป็นจิตวิญญาณ ก็เห็นจะไม่ผิดนัก ที่นี่ การขอ Feedback เกิดขึ้นตลอดเวลา หรือแม้แต่ไม่ได้ขอ Feedback แต่ก็ยังมีการให้ความเห็นกลับไปแบบรวดเร็ว

บางครั้ง เมื่อมีการสนทนาที่มีประเด็นที่สงสัยเกิดขึ้น คำถามจะดังมาก ว่าทำไปเพื่ออะไร หรือแม้แต่ เสียงที่เป็นความเห็นของตัวเอง ก็ดังมากที่จะแสดงความเห็นออกไป ผมคิดว่าโดยปกติแล้วมนุษย์เราจะมี Comfort Zone ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราไม่แปลกแยกจากคนอื่น บางครั้ง อย่างวัฒนธรรมไทยเราเอง ก็เลยมีลักษณะ ยังไงก็ไปตามกัน หรือไม่ก็ อะไรที่คนอื่นเห็นด้วยเป็นเสียงส่วนใหญ่ เราไม่เห็นด้วยก็หยวนๆ กันไป แต่สำหรับที่นี่ ที่ที่ให้ความสำคัญกับการ Feedback จึงมีวิธีการมากมายที่ถูกนำเสนอในวาระโอกาสแตกต่างกัน Non-violence Communication, Crucial Conversation, Personal feedback, Anonymous feedback, Quick feedback และอีกสารพัดรูปแบบ เราขอ Feedback จากคนรอบตัว (บางคนอาจจะเรียก 360 degree) เราขอ Feedback จากลูกค้า เพื่อนรอบตัว เมื่อมีโอกาส เรามี Session ที่สอนให้รู้ว่าการให้ Feedback ที่ดีเป็นยังไง

Feedback บางครั้งก็เถื่อน โหดมาก เวลาความเห็นไม่ตรงกัน บางทีผมก็รู้สึกไม่ค่อยชอบ แต่สุดท้ายแล้ว มันมีการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนออกมาให้เห็น ให้ทุกคนได้ก้าวต่อไปเสมอ

Expectation — ที่ผ่านมาการเซตเป้าหมาย มักจะเป็นการทำระหว่าง เจ้านาย ลูกน้อง หรือ Manager กับ ทีม…

Posted by Warun Kietduriyakul on Monday, 26 February 2018

จุดยืน — เราอาจจะบอกง่ายๆ ว่า คนเราต้องมีจุดยืน แต่เอาเข้าจริงๆ มันง่ายหรือเปล่า ผมว่าไม่นะ…

Posted by Warun Kietduriyakul on Monday, 12 February 2018

Fish Bowl

Fish Bowl เป็นกิจกรรมลักษณะของ Panel Discussion เคยมีที่จัดเรื่องของ What is ThoughtWorks Culture ไป ลักษณะการจัด เราจะมีเก้าอี้ด้านหน้าจำกัด (เช่น 5 ตัว) หลังจากนั้นใครก็ตามที่จะพูดจะต้องไปนั่งที่เก้าอี้ห้าตัวนั้นก่อนจึงจะมีสิทธิพูด หรือถามคำถาม คนข้างนอกจะไม่มีสิทธิพูดอะไรได้เลย เป็น Silence Mode เท่านั้น คนที่นั่งอยู่จะต้องนั่งจนกว่ามีคนอยากจะมาพูดอะไรสักอย่าง ซึ่งถ้าหากคนที่นั่งอยู่ยังอยากพูดอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องลุกให้ใครเข้ามานั่ง หรือ คนที่อยู่ใน Panel คนอื่นๆ ก็อาจจะผลัดเปลี่ยนกันลุกไปเพื่อให้คนอื่นได้มีเวทีได้พูด

กิจกรรมนี้มันเหมาะกับหัวข้อดุเดือด มีเสียงที่ต้องการแสดงความเห็นมากๆ

Hero Journey

อันนี้เป็นเครื่องมือที่เจอโดยบังเอิญบ๊อยบ่อย เวลาที่บางครั้งต้องเตรียมงาน จัด Meetup หรือ เตรียม Workshop สำหรับอะไรสักอย่าง มันก็จะมี Hero Journey Workshop สำหรับปูเส้นทางตั้งแต่ต้นจนจบ อันนี้คิดว่า ถ้าใครสงสัย ก็ให้ไปทาง UX Meetup ก่อน เดาว่าน่าจะได้ใช้ๆ กันอยู่

หลักๆ คือ ตีแผ่โครงสร้างของกิจกรรมที่เกิดขึ้น และ ผลลัพท์มาเป็นเรื่องราวที่จะเกิดขึ้น (น่าจะล้อๆมาจาก User Journey) ซึ่งพอแตกกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ เราก็สามารถเอาไปแบ่งงานเป็นกลุ่มเป็นก้อน ว่าใครจะเอาไปทำอะไร หรือว่า งานไหนจำเป็น มีก็ได้ไม่มีก็ได้ ไม่ทำ


ตอนนี้เห็นภาพของชีวิต Consultant และความแตกต่างกับการทำงาน In-house software ได้ชัดขึ้น ความท้าทายในรูปแบบที่แตกต่างกัน จนบางครั้งก็คิดว่า น่าจะมีเป็น Flow Chart เพื่อให้น้องๆ ได้ลองเลือกเส้นทางได้ไวขึ้นดู ก็ไว้มีโอกาสก็จะไว้เก็บมาเล่าให้ได้อ่านกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *